Category: ข่าวรอบโลก

เซลฟี่มรณะ อุบัติเหตุยอดฮิตบนความประมาทหวังเก็บภาพประทับใจแต่ทำคนถ่ายตายสยอง

การถ่ายรูปตัวเองหรือที่เรียกว่าเซลฟี่นั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตั้งแต่ยุคที่เริ่มใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งกล้องของสมาร์ทโฟนในยุคแรกเริ่มนั้นไม่สามารถใช้กล้องหน้าได้ แต่เมื่อบริษัทโทรศัพท์ได้ทำการพัฒนาให้สมาร์ทโฟนสามารถมีโหมดปรับเปลี่ยนกล้องหลังและกล้องหน้า การเซลฟี่จึงเข้าสู่ยุครุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนใหญ่การเซลฟี่นั้นไม่ได้ทำเพื่อถ่ายรูปเก็บภาพประทับใจเท่านั้น แต่คนใช้การถ่ายรูปแบบเซลฟี่เพื่อเช็คความบกพร่องบนใบหน้าของตัวเอง และรู้ว่ามุมไหนที่ตนถ่ายแล้วดูดี ซึ่งหลายบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้นำแนวความคิดนี้มาพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมความสวยหล่อของผู้ที่ชอบถ่ายเซลฟี่ อีกทั้งยังเกิดธุรกิจการแพทย์ทางด้านศัลยกรรมใบหน้าให้คนไข้ได้มีใบหน้าที่ได้รูป และเป็นที่พึงพอใจอีกด้วย วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีถูกระบุให้เป็นวันเซลฟี่นานาชาติ เนื่องจากวันเดียวกันนี้ในปี 2014 พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดได้ระบุให้คำว่าเซลฟี่เป็นคำหนึ่งในพจนานุกรม ซึ่งหมายความว่าการถ่ายรูปตัวเองด้วยตัวเอง ดังนั้นทุก ๆ วันนี้ของปีผู้คนจะพากันถ่ายรูปเซลฟี่ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อสร้างความทรงจำและความประทับใจเก็บเป็นที่ระลึก แต่ใช่ว่าการถ่ายรูปเซลฟี่นั้นจะสร้างความประทับใจเสมอไป โดยเฉพาะคนที่ชอบการเซลฟี่ในสถานที่แปลก ๆ หรือในท่าทางที่ผาดโผนก็สามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ระทึกโดยหนุ่มอินเดียวัย 24 ปีพยายามไปยืนที่น้ำตกซึ่งมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันราว ๆ 16 เมตร ในเมืองโกราภัทร รัฐโอริสา ประเทศอินเดีย ด้วยกระแสน้ำที่ไหลลงหน้าผาอยู่ตลอดเวลาทำให้เขาทรงตัวไม่อยู่และลื่นตกหน้าผาไปในที่สุดเป็นที่น่าตกใจของบรรดาเพื่อน ๆ และนักท่องเที่ยวที่พบเห็น โดยเหตุการณ์นี้ได้ถูกบันทึกเป็นวิดีโอคลิปสั้น ๆ จากเพื่อนของเขาและถูกเผยแพร่ในภายหลังเพื่อเป็นอุทาหรณ์ต่อคนที่ชอบการเซลฟี่ ตามรายงานข่าวระบุว่าชายคนดังกล่าวนั้นไม่ได้เสียชีวิตแต่มีอาการโคม่าอยู่ในห้องไอซียู อีกหนึ่งเหตุการณ์สลดเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษโดยสาววัย 20 ปี ชาวนิวซีแลนด์ผู้รักการท่องเที่ยว และหลงใหลการเซลฟี่เป็นชีวิตจิตใจ ระหว่างทริปท่องเที่ยวในกรุงลอนดอนเธอได้ปีนขึ้นไปบนหน้าต่างของโรงแรมเพื่อหวังจะได้รูปเซลฟี่ของตัวเธอกับวิวในเมืองใหญ่ แต่เรื่องไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นกับสาวน้อยผู้นี้โดยเธอพลัดตกจากหน้าต่างโรงแรมลงมาสู่พื้นด้วยอาการสาหัส และเสียชีวิตในภายหลังซึ่งเป็นที่เศร้าเสียใจต่อเพื่อนและครอบครัวของเธออย่างยิ่ง

กฎคือกฎ ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด!

  กฎหมายถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทุกประเทศที่มีรูปแบบการปกครองในระบบประชาธิปไตย มีการกำหนดขึ้นจากความเห็นของบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย ผ่านขั้นตอนกระบวนการมากมายกว่าจะกลายมาเป็นข้อปฏิบัติ และข้อบังคับได้นั้น เรียกว่าเหนื่อย และลำบากลำบนมากทีเดียว ลักษณะของกฎหมาย คือ ต้องปฏิบัติตามที่ให้ปฏิบัติ และไม่ปฏิบัติตามข้อที่ห้าม หากใครฝ่าฝืนก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมายที่ได้ระบุโทษความผิดที่ได้กระทำไป หลายประเทศถือกฎหมายเป็นใหญ่ที่สุด ซึ่งจริง ๆ ก็ควรต้องเป็นอย่างนั้น เพราะการฝ่าฝืนถือเป็นความไร้ระเบียบ ไม่อยู่ในกรอบที่วางไว้ คนอื่น ๆ จะมองเป็นคนนอกคอก ท้ายที่สุดก็จะลงโทษตามความผิดนั้น ดูแล้วทุกอย่างก็สมเหตุสมผลดี มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศอิหร่านนครดูไบ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา มีนักโทษถูกตัดสินโทษด้วยการถูกตัดมือ ความผิดฐานลักขโมย ติดคุกหลายปี และเมื่อตัดสินโทษ จึงถูกตัดสินให้ถูกตัดมืออย่างที่เป็นข่าวแพร่กระจายไปทั่ว หลายคนต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทลงโทษอันโหดเหี้ยมนี้ กลายเป็นประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันหลายวัน เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศอิหร่าน ซึ่งอิหร่านเองก็เป็นประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ไม่ได้แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เลย แต่ทำไมกฎหมายถึงเด็ดขาดและรุนแรงเช่นนี้ ขณะที่เกาหลีเหนือก็มีกฎหมายที่เด็ดขาดเช่นกัน ผู้นำสูงสุดคือผู้ปกครอง ทุกคนต้องปฏิบัติกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด แต่เกาหลีเหนือนั้นเรียกว่าเป็นประเทศที่ไม่ใช้ระบบประชาธิปไตยอย่างหลาย ๆ

สถานการณ์โลกของประเทศมหาอำนาจของผู้นำคนใหม่

สถานการณ์โลกนับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา มีประเด็นเรื่องราวน่าสนใจและน่าติดหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงผู้นำของสหรัฐ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ ชาวโลกต่างมึนตะลึงทำตาปริบ ๆ ไปตาม ๆ กัน โดนัลด์ เจ.ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้สร้างความประหลาดใจให้กับทั่วโลก นับเริ่มตั้งแต่การได้รับคะแนนเสียงชนะการเลือกตั้ง จากเค้าเดิมความน่าจะเป็นที่ปรากฏคือนางฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งทางการเมืองของทรัมป์ น่าจะคว้าตำแหน่งประธานาธิบดีไปครองมากกว่า แต่ผลกลับไม่เป็นเช่นนั้น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สหรัฐฯโดยการนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายทางการทูต ที่มีผลกระทบกับนานาประเทศเป็นอย่างมาก จากนั้นก็ตามมาด้วยนโยบายอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งประเด็นที่กลายเป็นกระแสฮิตติดขีปนาวุธที่ดูจะร้อนระอุขึ้นทุกขณะกับประเทศเกาหลีเหนือ จนข่าวหลายสำนักวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานาว่า “นี่อาจจะเป็นเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่?)  และครั้งหนึ่งที่นำไปสู่ความประหลาดใจอย่างมากต่อประชาคมโลก กับคำสั่งยิงขีปนาวุธ “โทมาฮอว์ก” กว่า 60 ลูก จากเรือรบสหรัฐฯ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อทำลายฐานทัพซีเรียที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560

ขยะพลาสติกภัยร้ายอนาคต พร้อมโรคภัยรูปแบบใหม่

นับตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นใจแง่ของสภาพสังคม ความเป็นอยู่ แต่ในแง่ของทรัพยากรได้รับความเสียหายมากมาย จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ล่าสุดนักวิจัยนานาชาติ กำลังเร่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแนวปะการังทั่วโลกกว่า 120,000 แห่ง จาก 159 พื้นที่ เพื่อทำการศึกษาสภาพมลภาวะและตรวจสอบสภาพแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งและแนวปะการังของประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เมียนมา และประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศดังกล่าวนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ความเสี่ยงดังกล่าวนักวิจัยเปิดเผยว่ามาจาก “ขยะพลาสติก” ที่ถูกทิ้งอย่างไร้จิตสำนึก อันจะส่งผลให้ปะการังเกิดโรคและเพิ่มโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียปะการังตามแนวชายฝั่งมากจาก 4 เป็น 89% และยังกล่าวอีกว่า จากการประเมิน จำนวนขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากหรือ ราว 11,100 ตัน ตามแนวชายฝั่งเอเชียแปซิฟิกที่มีปะการังอาศัยอยู่ หรือปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 40 % ภายใน 7 ปี่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่า หากอนาคตยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ปะการังจะถูกทำลายจนในที่สุดอาจจะไม่มีเหลือให้ได้ชมกันอีกก็เป็นได้ ที่ผ่านมาประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลสามารถทำเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาลในแต่ละปี