Category: การศึกษา

เหตุแจกหนังสือฟรี 100% ทำงบไม่พอหวั่นเด็กไม่มีหนังสือเรียนเร่งหาเงินสมทบ

                เมื่อพูดถึงการศึกษาของประเทศไทย ใครหลายคนอาจเปรียบเทียบว่าเหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์เนื่องจากระบบการศึกษาไทยนั้นจะถูกปรับเปลี่ยนอยู่บ่อย ๆ เพื่อดูว่าผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นอย่างไร ทำให้นักเรียนนักศึกษาและพ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยปรับตัวให้ทันยุคทันสมัยของการศึกษาไทย อีกทั้งต้องเตรียมใจรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบออนไลน์ล่ม เมื่อถึงเวลาต้องยื่นเอกสารการสมัครเรียนหรือผลคะแนนต่าง ๆ  อีกทั้งปัญหาที่เกิดจากความไม่เที่ยงตรงของระบบที่ได้รับการพัฒนาในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่ได้ถูกทดลอง หรือแก้ไขก่อน เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากการทดลองใหม่ ๆ ของระบบการศึกษาไทย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ได้แถลงต่อสื่อว่าจะยกเลิกการแจกหนังสือยืมเรียน 100% ตามนโยบายปี 2561 และยังได้แจ้งอีกว่าสำหรับโรงเรียนใดที่มีงบประมาณไม่พอต่อการซื้อหนังสือเพื่อแจกให้นักเรียนก็สามารถทำเรื่องเบิกงบประมาณได้เลย เนื่องจากในปีการศึกษาหน้าจะมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรในทุกชั้นเรียน ทำให้ไม่สามารถใช้หนังสือยืมเรียนเล่มเก่า ๆ ได้ นอกจากนี้นายบุญรักษ์ยังแจ้งอีกว่าหนังสือยืมเรียนที่นักเรียนได้รับไปแล้วไม่จำเป็นต้องนำมาคืนให้กับโรงเรียน และถ้าโรงเรียนรับคืนหนังสือยืมเรียนจากนักเรียนจะถือว่ากระทำผิดต่อนโยบายนี้ จะเห็นว่านโยบายข้างต้นเป็นนโยบายที่จะส่งผลดีต่อนักเรียน เนื่องจากผู้ปกครองสามารถตัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเรียนออกไปได้และนำไปใช้พัฒนาบุตรหลานในด้านอื่น ๆ แต่ปัญหาก็มีให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้เองได้มีการเปิดเผยจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรีว่า ทางโรงเรียนไม่ได้รับงบประมาณการจัดซื้อหนังสือ 100% อย่างที่ได้ทำการตกลงเอาไว้ ภายหลังนายบุญรักษ์

เมื่อ“เด็กจบใหม่” กลายเป็นเหยื่อของการคอร์รัปชั่น

ในเศรษฐกิจที่งานประจำหายาก ทำให้การว่างงานเป็นเรื่องน่ากลัว โดยเฉพาะนักศึกษาที่เพิ่งพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัย จากการสำรวจล่าสุดของปี 2560 มีนักศึกษาตกงานถึง 2 แสนคน ด้วยเหตุผลมากมาย เช่น ไม่มีทักษะที่ตลาดต้องการ สายงานไม่ตรงตามวุฒิ หรือแม้กระทั่งเหตุผลภายในอย่างกลัวการเข้าสังคม ไปจนถึงกลัวการเข้าสู่โลกของการทำงาน ไม่ใช่เด็กจบใหม่เท่านั้นที่กลัว ผู้ปกครองก็กลัวเช่นกัน หลายคนต้องใช้ตำแหน่ง เส้นสาย รวมทั้งเงินเป็นเดิมพันเพื่อให้ลูกหลานของท่านได้เข้าทำงานในหน่วยงาน การกลัวความไม่มั่นคงเหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุหลัก ๆ ของการคอร์รัปชั่น เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศของเราใช้ระบบอุปถัมภ์ สิ่งที่ทำกันมานานเราเรียกว่า ธรรมเนียม/ประเพณี และเมื่อกลายเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำ เราจึงมองว่าเป็นเรื่องไม่ผิด ในประเทศของเราผู้ปกครองส่วนใหญ่ในชนบทมีอาชีพเกษตรกร การสร้างรายได้เพื่อส่งให้บุตรหลานเล่าเรียนเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ และหลายคนไม่ต้องการให้บุตรหลานอยู่ไกลบ้านเมื่อสำเร็จการศึกษา ประกอบกับความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่าเราสามารถสร้างความมั่นคงด้วยการเป็นข้าราชการ เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสพวกเขาก็จะไม่ปฏิเสธ ทำให้เกิดวังวนของการคอร์รัปชั่น “เด็กจบใหม่ ไร้ทางเลือก” เมื่อ“เด็กจบใหม่” ตระหนักว่าตนเป็นผู้น้อย ซึ่งประสบการณ์และมีทางเลือกไม่มากนัก ก็ต้องยอมเข้าสู่กระบวนการคอร์รัปชั่นแต่โดยดี ตำแหน่งที่ได้รับส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระดับลูกจ้าง โดยหวังว่าสักวันจะมีโอกาสได้เป็นพนักงานตัวจริง หลายคนยอมกินเงินเดือนที่น้อยกว่าระดับเงินเดือนที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งถือว่า “เด็กจบใหม่” นั้นกลายเป็นเหยื่ออย่างแท้จริง ในส่วนของผู้ปกครองสำนวนไทยที่ว่า