เล่นสมาร์ทโฟนทำให้เป็นโรคมะเร็งได้จริงหรือ

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนถือเป็นปัจจัยที่ 5 หรือไม่ก็อวัยวะที่ 33 ของผู้คนไปเสียแล้ว เราอยู่กับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนตั้งแต่ตื่นนอน ไปทำงาน ไปโรงเรียน ไปเที่ยว ขึ้นเขาลงห้วยที่ไหนก็พกเจ้าสิ่งนี้ติดตัวไปด้วยเสมอ โดยประชากรในประเทศไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์ถึง 56.55 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนอายุของผู้ที่มีโทรศัพท์ไว้ในครอบครองก็น้อยลง มีหน่วยงานที่รวบรวมสถิติข้อมูลของผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตปรากฏว่าประเทศไทยไทยติดอันดับ 1 ในโลก และกรุงเทพยังเป็นเมืองที่มีผู้ใช้งานเฟสบุ๊คมากที่สุดในโลกอีกด้วย

เล่นโทรศัพท์ก่อมะเร็ง

นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อสรุปว่า เด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนมีแนวโน้มว่าจะเป็นมะเร็ง 12 ประเภท อันประกอบไปด้วย มะเร็วเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน เป็นต้น นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นที่ทราบดีว่าความสามารถในการมองเห็นของเด็ก ๆ จะลดลงเมื่อเล่นโทรศัพท์เกินกว่าเวลาที่กำหนดทุกวัน

ใน 50 ปีที่ผ่านมา อัตราสายตาสั้นในเด็กพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 7.2 % เป็น 16.4 % ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มากจากการเล่นโทรศัพท์มือถือมากเกินไป ผู้ปกครองหลายรายซื้อโทรศัพท์ให้ลูกเพื่อให้ลูกเล่นและจะได้ไม่ร้องงอแง คือให้โทรศัพท์ช่วยเลี้ยงลูก และจากการศึกษาพบว่าเด็กที่มีการบริโภคแบบเฉื่อยซึ่งในที่นี้หมายถึงเด็กจะรับประทานอาหาร หรือนั่งอยู่บนโต๊ะอาหารนิ่ง ๆ เพื่อรอป้อนก็ต่อเมื่อได้ใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิค เช่น สมาร์ทโฟนเท่านั้น และไม่ขยับเขยื้อนเลยเพราะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับหน้าจอ ซึ่งอาจจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ ท้องอืด อาหารไม่ย่อยและเกิดเป็นโรคอ้วนได้ เมื่อเด็กเริ่มเป็นโรคอ้วนก็มีความเป็นไปได้ว่าน้ำหนักอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 5 เท่า และในตอนนี้เองที่โรคมะเร็งก็จะกล้ำกลายเข้ามา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังเผยอีกว่า โรคอ้วนสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้และมีผลกระทบร้ายแรงกว่าการสูญบุหรี่เสียอีก

หลีกเลี่ยงได้หรือไม่

แม้ว่าการมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นตัวช่วยในการดำเนินชีวิตให้สะดวกในหลาย ๆ ด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูล การเรียน การทำงาน หรือด้านสุขภาพ การใช้งานอย่างเหมาะสมช่วยลดเวลาในการทำงาน ช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เร็วขึ้น เพิ่มความแม่นยำในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น แต่อะไรที่เราใช้ในปริมาณที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อผู้ใช้เสมอ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปล่อยแบบสำรวจให้ประชาชนได้สำรวจว่าตัวเองเป็นโรคติดมือถือมากเกินไป หรือโรคโนโมโฟเบียหรือไม่  ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าอุปกรณ์ตัวนี้จะนำมาสู่โรคมากมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองเข้าข่ายหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่ได้กล่าวมาทั้งหมด การลดการใช้โทรศัพท์มือสมาร์ทโฟนโดยการหันมาทำกิจกรรมยามว่าง กับคนที่รัก เพื่อน หรือคนในครอบครัวอย่างเช่น การออกกำลังกาย การเดินเล่นในสวนสาธารณะ การปั่นจักรยานก็ดูเป็นกิจกรรมที่ไม่เลวเลยนะ